การเลี้ยงปลานิล เป็นอีกหนึ่งอาชีพที่ทำให้เกษตรกรร่ำรวยได้ ทั้งการนำไปเลี้ยงเพื่อบริโภคเอง หรือเลี้ยงปลานิลเพื่อเป็นอาชีพหาเลี้ยงครอบครัว ซึ่งไม่ว่าจะทางไหนก็ตาม ต่างก็มีประโยชน์ทั้งนั้น จึงทำให้ปลาชนิดนี้ได้รับความนิยม และเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย รวมไปจนถึงเพื่อนบ้านเราอย่าง ลาว และพม่า ที่ได้นำปลาชนิดนี้ไปเลี้ยงในประเทศตัวเอง
รูปร่างลักษณะของปลานิล เป็นปลาน้ำจืดในตระกูลซิลลิค (Cichidae) มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ทวีปแอฟริกา พบได้ทั่วไปตามหนอง บึง และทะเลสาบ ในประเทศ ซูดาน ยูกันดา แทนกันยีกา โดยที่ปลาชนิดนี้มีการเติบโตที่รวดเร็ว และเลี้ยงง่าย เหมาะที่จะนำมาเพาะเลี้ยง ในบ่อดินได้เป็นอย่างดี ซึ่งได้รับความนิยมและเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายในทวีปเอเชีย แม้แต่ในสหรัฐอเมริกา ก็ยังนิยมเลี้ยงเจ้าปลานิล มีรูปร่างลักษณะคล้ายกับปลาหมอเทศแต่ลักษณะพิเศษของปลานิลก็คือ มีริมฝีปากทั้งบนและล่างที่เสมอกัน ที่บริเวณแก้มนั้นมีเกล็ด 4 แถว ตามลำตัวจะมีลายดำๆ พาด 9-1 แถบ นอกจากนั้น ลักษณะทั่วไปคือมีครีบแค่ 1 ครีบ ประกอบด้วยก้านครีบที่แข็งและก้านครีบที่อ่อนจำนวนมากเช่นกัน
การสืบพันธุ์
1.ลักษณะ ตามปกติแล้วรูปร่างภายนอกของปลานิลตัวผู้และตัวเมียนั้น จะมีลักษณะคล้ายกันอย่างมาก แต่เราจะสังเกตได้โดย การดูอวัยวะเพศที่ใกล้กับช่องทวาร โดยตัวผู้จะมีอวัยวะเพศในลักษณะเรียวยาวยื่นออกมา แต่ตัวเมียนั้นจะมีรูที่ใหญ่และกลม และขนาดที่ปลาจะสามารถดูเพศได้ชัดเจนคือจะต้องเป็นปลาที่มีขนาด 10 เซนติเมตรขึ้นไป
2.การผสมพันธุ์และการวางไข่ ปลานิลสามารถผสมพันธุ์ได้ตลอดทั้งปีโดยใช้เวลา 2 – 3 เดือน / ครั้ง แต่ถ้าในบ่อมีอาหารที่เพียงพอและเหมาะสมในระยะเวลา 1 ปี จะทำการผสมพันธุ์ ได้ถึง 5- 6 ครั้ง ขนาดของอายุและช่วงสืบพันธุ์ของปลานิล แต่ละตัวจะแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อม และสภาพทางสรีรวิทยาของปลาเอง
การเตรียมบ่อเพาะพันธุ์ปลานิล
บ่อดิน – บ่อดินนั้นควรมีรูปทรง สี่เหลี่ยมผืนผ้า มีเนื้อที่ตั้งแต่ 50 – 1,600 ตารางเมตร สามารถกำเก็บน้ำได้สูงถึง 1 เมตร บ่อควรที่จะมีเชิงลาดตามความเหมาะสม เพื่อที่ป้องกันดินที่จะพังทลาย และมีชานบ่อกว้าง 1-2 เมตร ใส่โล่ดิ๊น กำจัดศัตรูของปลาในอัตราส่วน 1 กิโลกรัม / ปริมาณของน้ำ 100 ลูกบาศก์เมตร โดยปูนขาวให้ทั่วบ่อ 1 กิโลกรัม / พื้นที่ 10 ตารางเมตร
การคัดพ่อแม่พันธุ์
การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ของปลานิล โดยสังเกตลักษณะภายนอกของปลาที่สมบูรณ์ ปราศจากเชื้อโรคและบาดแผล สำหรับพ่อแม่ปลาที่พร้อมจะวางไข่นั้นสังเกตได้จากอวัยวะเพศถ้าเป็นปลาตัวเมียจะมีสีชมพู แดง ส่วนปลาตัวผู้จะมีสีที่เข้มสดใสโดยเปรียบเทียบจากปลานิลตัวอื่นๆ ที่จับขึ้นมาเทียบกัน ขนาดของปลาทั้งตัวผู้และตัวเมียจะต้องมีความยาวประมาณ 15 – 25 เซนติเมตร หนักประมาณ 150 –200 กรัม ขึ้นไป
อัตราส่วนการปล่อยพ่อแม่พันธุ์ลงบ่อเดียวกัน
ปริมาณพ่อแม่พันธุ์ที่จะปล่อยลงบ่อเพาะพันธุ์จะเท่ากับ 1 ตัวต่อ 4 ตารางเมตร หรือไร่ละ 400 ตัว ควรปล่อยในอัตราส่วนพ่อปลา 1 ตัว / แม่ปลา 2 ตัว จากการสังเกตพฤติกรรมในการผสมพันธุ์ของปลานิล ตัวผู้จะมีสมรรถภาพที่จะสามารถผสมพันธุ์กับตัวเมียตัวอื่นๆ ได้อีก ดังนั้นการที่เราเพิ่มอัตราส่วนของตัวเมียให้เยอะกว่าตัวผู้นั้นจะทำให้มีโอกาสที่ปลานิลจะผสมพันธุ์กันเปอร์เซ็นต์สูงกว่า
การอนุบาลปลานิล
บ่อควรใช้ลูกปลานิลที่มีขนาด 1 – 2 เซนติเมตร ได้ครั้งละ 50,000 ตัว การอนุบาลลูกปลานิล นอกจากจะใช้ปุ๋ยเพาะอาหารธรรมชาติแล้ว จำเป็นที่จะต้องให้อาหารสมทบไปด้วย เช่น รำละเอียด กากถั่ว ให้ 2 วัน/ครั้ง พร้อมกับสังเกตการณ์เจริญเติบโตแล้วความอุดมสมบูรณ์ของอาหารจากธรรมชาติ สังเกตได้จากสีของไรน้ำ
การเลี้ยง
ปลานิลเป็นปลาที่คนนิยมเลี้ยงกันมากชนิดหนึ่ง ทั้งในรูปแบบการค้าขาย และเลี้ยงไว้บริโภค ทั้งนี้เนื่องจากเป็นปลาที่เลี้ยงง่ายมาก เอาไปประกอบอาหารได้เกือบทุกชนิด มีเนื้อที่รสชาติดี และตลาดมีความต้องการสูง การเลี้ยงปลานิลเพื่อต้องการจำหน่ายจึงมีความจำเป็นที่จะต้องพิจารณาช่วยลดต้นทุนการผลิตให้มากที่สุด
ลักษณะและการจำหน่ายผลผลิตปลานิล
ส่วนใหญ่แล้วเกษตรกรจะจำหน่ายให้แก่พ่อค้าผู้รวบรวม 66 – 71 % และนำไปขายให้พ่อค้าขายส่งองค์การสะพานปลา 21 % และขายในที่ย่อยๆ อื่นๆ อีก 3 – 6 %
ราคาและความเคลื่อนไหว
สำหรับราคาจำหน่ายที่ฟาร์มอยู่ที่ขนาดของปลาอยู่ระหว่าง 25 บาทต่อกิโลกรัม สำหรับราคาที่ขายแบบปลีกจะเฉลี่ยอยู่ที่ราคา 30 – 35 บาท / กิโลกรัม ผลต่างระหว่างราคาฟาร์มและราคาขายปลีกจะอยู่ที่ 5 – 10 บาท / กิโลกรัม