ปลากัดสร้างรายได้

มือใหม่ควรเริ่ม? + วิธีการเลี้ยง การเพาะพันธุ์ พัฒนาสายพันธุ์ +พันธุ์ไหนราคาดีสุด + ช่องทางการตลาด

ปลากัด

 

คนไทยอาจจะไม่รู้จักปลากัด หรือบางคนอาจจะได้ยินชื่อและไม่รู้ด้วยซ้ำว่าปลากัด สามารถสร้างมูลค่าให้กับประเทศของเราได้อย่างมาก ในแวดวงปลากัดก็มีการซื้อขาย การเพาะเลี้ยง บางคนมีพื้นที่ของบ้าน มีบ้านหลังใหญ่ ก็เอามาเพาะปลากัดขาย โดยเฉพาะพื้นที่สำคัญอย่าง ฉะเชิงเทรา นครปฐม เพชรบุรี และหลายจังหวัดในภาคใต้ แม้ต่างทางภาคเหนือหรืออีสานก็มีกลุ่มคนที่เพาะเลี้ยงปลากัดเพื่อจำหน่ายเช่นเดียวกัน แม้วงการของคนเล่นปลากัดจะไม่ค่อยใหญ่เท่าปลาอื่นๆ แต่ในความเป็นจริงสามารถส้รางรายได้แบบเลี้ยงชีพและเลี้ยงครอบครัวได้เลยทีเดียว

ปลากัด

 

ประเภทของปลากัด

  1. ปลากัดลูกหม้อ

มีลักษณะค่อนข้างหนากว่าสายพันธุ์อื่น ส่วนหัวค่อนข้างโต ปากใหญ่ ครีบสีสันเข้ม เดิมมักจะเป็นสีเขียว , สีแดงแกมแดง ปัจจุบันนิยมเรียกเป็นกลุ่มของปลากัดครีบสั้น

  1. ปลากัดลูกทุ่ง

มีลักษณะเล็กกว่าพันธุ์ลูกหม้อ ลำตัวค่อนข้างยาว ครีบยาวปานกลางหรืออาจจะยาวกว่าปลากัดหม้อเล็กน้อย สีไม่เข้มมาก ส่วนมากมักมีสีแดงแกมเขียว เป็นพันธุ์ที่ตื่นตกใจมากที่สุด การกัดจะมีความว่องไวมากกว่าปลากัดหม้อ

  1. ปลากัดลูกผสม

เป็นลูกปลาที่ถูกผสมแบบข้ามสายพันธุ์ระหว่างปลากัดลูกหม้อกับปลากัดลูกทุ่ง ผู้เพาะต้องการให้ปากของมันมีลักษณะคม กัดคล่องแคล่วว่องไว แบบปลาลูกทุ่งและมีความอดทนแบบปลากัดลูกหม้อ ปลาลูกผสมนี้จะกัดทนกว่าปลาลูกทุ่ง

  1. ปลากัดจีน

เป็นปลากัดที่เกิดจากการเพาะและคัดพันธ์ุปลากัดโดยเน้นเพื่อความสวยงามพยายามคัดพันธุ์เพื่อให้ปลามีหางยาวและสีสันสดเข้ม

  1. การเตรียมพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ ปลากัด

ปลากัดจะสมบูรณ์เพศเมื่อมีอายุ 4 – 6 เดือน สามารถนำไปเป็นพ่อ แม่พันธุ์ได้ การเลือกปลาเพศผู้ ควรเลือกปลาที่คึกคะนอง สำหรับปลาเพศเมียควรเลือกปลาที่มีท้องแก่ คือมีไข่แก่เต็มที่ โดยสังเกตได้จากส่วนของปลาซึ่งจะขยายตัวพองออกให้เห็นอย่างชัดเจน

  1. การเทียบพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ ปลากัด

นำขวดปลาเพศผู้และเพศเมียที่มีความสมบูรณ์มาวางชิดแบบแยกโหลกันก่อน เพื่อทำการเทียบคู่ และไม่ต้องปิดกระดาษคั่น เราต้องการให้ปลากัด มองหน้ากันก่อน ขั้นตอนนี้เรียกว่าการเทียบคู่ ใช้เวลาเทียบคู่ประมาณ 4 – 7 วัน เพื่อให้ปลากัดเกิดการคุ้นชินกันและกันเมื่อปล่อยลงบ่อเดียวกันตัวเมียจะได้ไม่ถูกตัวผู้กัด

  1. การเตรียมบ่อเพาะพันธุ์ปลากัด

ส่วนมากนิยมใช้ภาชนะต่างๆที่ไม่ใช่บ่อถาวร เช่น ตู้กระจก ขัน อ่างดิน กะละมัง ถัง หรือตุ่มน้ำที่มีขนาดเล็ก เพราะสะดวกกว่าเพาะในบ่อใหญ่ ใส่น้ำสะอาดลงไปในภาชนะที่เตรียมไว้ประมาณ 10 – 15 เซนติเมตร จากนั้นให้ใส่ต้นไม้น้ำลงไป เช่น สาหร่ายพุ่งชะโด จอก แหน่ ผักตบชวา ลงไปเล็กน้อย

  1. การปล่อยปลากัดลงบ่อ

เมื่อเราเทียบคู่ปลาเรียบร้อยแล้ว ให้ปล่อยปลาทั้งคู่ลงบ่อหรือภาชนะที่ได้เตรียมไว้แล้ว  ต้องพยายามอย่าให้ปลาตกใจ จากนั้นหาแผ่นกระดาษแข็ง หรือแผ่นกระเบื้อง โดยปิดบนภาชนะไว้ประมาณสองในสามของปากภาชนะเพราะปลากัดมักชอบวางไข่ในที่มืด เนื่องจากต้องการความเงียบ

การอนุบาลลูกปลากัด

การอนุบาลเริ่มจากที่ลูกปลาเริ่มหาอาหารกิน ลูกปลากัดต้องอาหารที่มีชีวิต แต่ปัญหาคือลูกปลากัดยังมีปากที่ขนาดเล็กมากอาหารที่ลูกปลากัดพอจะกินได้ก็คือลูกไรแดงหรือไข่ต้มสุกแต่เลือกส่วนที่เป็นไข่แดงให้กิน.

การเลี้ยงปลากัดให้จำหน่ายได้

มีทั้งแบบที่เป็นบ่อดิน และแบบที่เป็นบ่อปูนซีเมนต์ ควรมีขนาดประมาณ 10 – 30 เมตร แต่ถ้าเป็นบ่อซีเมนต์ควรมีขนาด 2 – 6 ตารางเมตร มีความลึกประมาณ 50 – 60 เซนติเมตร คัดแยกลูกปลาจากบ่ออนุบาลโดยการคัดเฉพาะปลาเพศผู้มาเลี้ยง เนื่องจากปลากัดเพศผู้เป็นปลาที่ต้องการในตลาดมากกว่า เพราะตัวผู้จะมีความสวยงามมากกว่าตัวเมีย

ราคาในการจำหน่ายปลากัด

ปลากัดสำหรับเอาไว้แข่งกัดกันจะแข่งกันในช่วงหน้าฝน ราคาของปลากัดที่จะเอาไว้แข่งกัดจะอยู่ที่ประมาณ 40 – 50 บาท หรือบางราย ก็ขายแบบเป็นชุด เช่น 12 ตัว 1,000 บาท ซึ่งการทำตลาดของเจ้าปลากัดส่วนใหญ่จะมี ปลาลอง คือปลาขนาดเล็กให้ลูกค้าได้ลองเอาไปกัดดูก่อน สิ่งที่น่าแปลกคือถ้าปลากัดคอกไหนที่เอามาลองกัดแล้วกัดเก่งสักตัวนึงก็จะเก่งเหมือนกันทั้งคอก แถวแปดริ้ว หรือนครปฐม มีคนแข่งขันการนำปลากัดมากัดกันเป็นอาชีพอย่างชัดเจน เงินหมุนเวียนเรื่อยๆไม่ต่ำกว่า 20,000 – 30,000 บาทต่อเดือนแน่นอน อีกกลุ่มคือซื้อเพื่อแข่งขันประกวดความสวยงาม ส่วนมากยิ่งสีแปลก ชัดเจน ยิ่งขายดี เช่น ฮาร์ฟมูน คราวเทล หรือสีแปลกๆเช่นสีธงชาติ เป็นต้นส่วนใหญ่จะเริ่มกันที่ราคาหลักพันไปจนถึงหลักหมื่น

ตลาดที่มีความสนใจปลากัดทั้งแบบสวยงามหรือแบบกัดกัน

ตลาดที่ต้องการปลากัดก็เป็นแทบเพื่อนบ้านเราหรือเป็นตามต่างจังหวัดแทบภาคใต้ อีสาน หรือแม้แต่ภาคเหนือ ส่วนประเทศที่สนใจปลากัดก็อย่างประเทศ อินโดนีเซีย มาเลเซีย พม่า กัมพูชา จีนก็เอากับเขาด้วย